โรคไข้เลือดออก อันตรายแต่ป้องกันได้
โรคไข้เลือดออก อันตรายแต่ป้องกันได้
กันไว้ ดีกว่าแก้
โรคไข้เลือดออก อันตรายแต่ป้องกันได้
เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน มีน้ำฝนขังตามภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ประชาชนควรเตรียมความพร้อมใน 3 เรื่องสำคัญ คือ
ดูแลตัวเองและคนในครอบครัวไม่ให้ถูกยุงกัด ด้วยการป้องกันการถูกยุงกัด โดยทายากันยุง นอนในมุ้ง นอนในห้องที่มีมุ้งลวด กำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยสเปรย์ ใช้ไม้ช็อตไฟฟ้า พร้อมช่วยกันกำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาชนะน้ำใส น้ำนิ่ง ทั้งภายในบ้านและในชุมชน
เฝ้าระวังอาการของโรค ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร หน้าแดง ผิวหนังเป็นจุดเลือด อาเจียน ปวดท้อง หากมีไข้ให้เช็ดตัวลดไข้ ทานยาพาราเซตามอล ห้ามซื้อยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบมารับประทานเอง
การไปพบแพทย์เร็วเมื่อป่วยและมีไข้สูง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคและเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงไข้ลด หากเกิดอาการช็อกจากไข้เลือดออก ต้องรีบกลับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หากช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้
และอย่าลืม ใช้มาตรการ “3 เก็บ” เพื่อการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคจากยุงในชุมชน
- เก็บบ้านให้สะอาด ไม่ให้มีมุมอับทึบ เป็นที่เกาะพักของยุง
- เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำเป็นประจำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422